โปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) มีด้วยกันถึง 7 ชนิด (serotype) คือ Botulinum toxin type A – G และที่มีใช้ในวงการแพทย์ คือ สาร Botulinum toxin type A, B

โบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Neurotoxin) โดยจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาททำให้ไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อขาดการรับรู้การสั่งงานจากเซลล์ประสาท มีผลทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวชั่วคราว โดยโบท็อกของแต่ละยี่ห้อแต่ละประเภทจะมีระยะเวลาการออกฤทธิ์และการเห็นผลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการทำตัวยาให้บริสุทธิ์, ชนิด protein complex, ขนาดของ molecule complex, ปริมาณของ neurotoxin, ประสิทธิภาพหรือความแรงของสารออกฤทธิ์, pH และฤทธิ์ทางชีวภาพ

ส่วนประกอบของ Botulinum toxin

  1. Progenitor toxin complex ของโบท็อก ประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ ได้แก่
    • Non-toxicneurotoxin-associated proteins (NAPs) (750kDa) (หน่วยปกป้อง)
    • Neurotoxin (ตัวออกฤทธิ์)
      • Heavy chain (100kDa)
      • Light chain (50kDa)
  2. Excipient สารช่วยทางเภสัชกรรม เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาและผลิตยา (lactose, sucrose, gelatin, dextran or serum albumin [for stabilization], buffer systems [for pH calibration])
โบท็อก

รูปภาพจาก ncbi.nlm.nih.gov

กลไกการออกฤทธิ์ Botulinum toxin

เมื่อฉีด Botulinum toxin เข้าสู่ร่างกาย Neurotoxin (ตัวออกฤทธิ์) จะแยกตัวออกจาก Non-toxic neurotoxin-associated proteins (NAPs) โดย Heavy chain (100kDa) ทำหน้าที่จับกับ gangliosides and specific synaptic vesicle proteins ที่ neurotoxin membrane เพื่อนำ toxin เข้าสู่เซลล์เส้นประสาท จากนั้น Light chain (50kDa) ทำหน้าที่ตัด SNARE protein ทำให้ยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท (Acetylcholine) จึงทำให้กล้ามเนื้อขาดการรับรู้การสั่งงานจากเซลล์ประสาท มีผลทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวชั่วคราว

ฉีดโบท็อก

อ้างอิงจาก Sci-news.com

โบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin) ได้รับการรับรองความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยา และมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกเป็นเวลาหลายกว่าสิบปี จึงมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัย สลายไปเอง 100% ตามระยะเวลาของโบท็อกยี่ห้อนั้นๆ

โบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin) จัดเป็นยาควบคุมพิเศษดังนั้นจะต้องมีการขั้นตอนผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษาที่ได้มาตรฐานถูกต้อง ที่สำคัญต้องใช้และบริหารยาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่อย่างนั้นอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อคนไข้ได้